ในการที่เราเลือกที่จะศึกษา..พระเครื่อง..มี…พื้นฐาน..
ให้เราเรียนรู้ในเบื้องต้น..อยู่ไม่กี่อย่าง…เช่น
พิมพ์ทรง…เนื้อหามวลสาร…และ…ความเก่า……
ผู้รู้ผู้ชำนาญการ..ส่วนใหญ่…ก็มักจะพูดว่า..ดูเนื้อ…หรือ..ดูพิมพ์ก่อน..
เป็นอันดับต้นๆ….
เวลาที่เราถาม..อาจารย์ครับ..อาจารย์ดูเนื้อ..หรือ..ดูพิมพ์..เป็นหลัก
ในการพิจารณา..ความแท้ ความเท็จ..ของพระสกุลใด..ๆ
โดยไล่ตั้งแต่พระรอด..ยันพระใหม่ในปัจจุบัน
คำตอบที่เราได้..หากเขาไม่..ยึดเนื้อเป็นหลัก……ก็ยึดพิมพ์…เป็นหลัก….
แสดงว่า..ความรู้แบ่งเป็นสองกลุ่ม…ที่พิจารณาไม่เหมือนกัน….
ทำให้เราก็ไม่รู้กลุ่มไหน..จะตัดสินพระของเราที่เห็นตรงหน้า…
ให้..แท้ หรือ เท็จ…ได้นั่นเอง
ดังนั้น…ในงานประกวด..จึงยึดหลักการพิจารณา..สองมาตรฐาน..คือ
เนื้อ..กับพิมพ์….หมายความว่า….ต้องดูทั้งเนื้อและพิมพ์ประกอบกัน…เพื่อ
ใช้เป็นหลัก…ในการตัดสินให้พระองค์หนึ่งองค์ใดแท้ หรือ เท็จ….
ตัดสินความแท้เท็จโดย…การที่..ยึดติดในตัวของผู้ตัดสิน..มีประสบการณ์
แต่ละคน เคยเห็น…เคยสัมผัสพระเครื่องที่อ้างว่าแท้ มาก่อน….หน้านี้เท่านั้น
ในขณะที่…บางที…พระองค์เดียวกัน…ประกวดสองงาน…กลับได้รับคำตอบ
…แท้..งานหนึ่ง แล้วก็ไป..เท็จ..อีกงานหนึ่ง (แสดงว่า..มีความไม่เหมือนกัน..ใน
การตัดสิน..ในการตัดสินใจ..ในประสบการณ์ที่แตกต่างกันของกรรมการ..นั่นเอง)
หมายความว่าอย่างไร..?
ผมกำลังจะบอกว่า…เป็นไปได้ไหม..ที่….มาตรฐานที่เรากำหนดขึ้นมา….เพื่อใช้
ในการตัดสินพระเครื่องนั้น….ไม่มีมาตรฐาน..ตามที่เขาอ้างว่า..
เนื้อกับพิมพ์..คือ..มาตรฐาน…
ผมมีตัวอย่าง…ของพระ..(ท่านจะตีว่าปลอมก็ได้)….มาให้พิจารณาเปรียบเทียบครับ
ว่า…หากเรานำพระเครื่อง (สมเด็จก็ได้) ที่ถูกตัดสินว่าแท้มาแล้ว…….
เรานำมา เรียงกันสามองค์…มีคำถามว่า……พระทั้งสามองค์นี้…
จะมี พิมพ์ทรงที่เหมือนกันไหม…(ไม่เหมือนแต่ใกล้เคียง)
จะมี เนื้อหามวลสารที่เหมือนกันไหม…(ไม่เหมือนแต่ใกล้เคียง แตกต่างกันก็มี)….
จะมี คราบกรุที่เหมือนกันไหม (ไม่เหมือนแต่ใกล้เคียง แตกต่างกันก็มี)….แต่ละองค์
จะมี ความกว้างยาวสูงเท่ากันไหม…(ไม่เท่ากันแต่ใกล้เคียง)……..ฯลฯ
ผมจึงถามต่อไปว่า ถ้าแต่ละองค์..ไม่มีความเหมือนกัน..ทั้งเนื้อหาและพิมพ์ทรง..
หรือคราบกรุ…ความกว้าง..ความหนา..ความยาว..ความสูง
ความไม่เหมือนกันอย่างนี้แหละที่ผม..ขอถามย้อนกลับ..กับท่านว่า..
องค์ไหนแท้…?..มีความถูกต้อง.ในด้านพิมพ์ทรงและเนื้อหา……คราบกรุ..
กว้าง..ยาว..สูง ที่ไม่เท่ากัน แตกต่างกันอย่างนี้….แล้ว
กรณี…ถ้าเราไปชี้..ไปกำหนดให้พระแท้ได้มาตรฐานจะต้องเป็น.. มือพระต้อง..มี…
ฐานพระต้องเห็น… กลีบฐานบัว…ต้องมีลักษณะ…ความใหญ่..ความกว้าง..ความสูง..
จะต้องฯลฯ การกำหนดแบบนี้…. ผมบอกได้เลยว่า…..นั่นคือปัญหา…ครับ…
ในขณะที่…เนื้อพระจะต้องเห็น…จะต้องแข็ง…จะต้องมีรอย…จะต้องมี..จะต้องเป็น….
ผมก็บอกได้เลย..นั่นคือ..ยิ่งสร้างปัญหาในการพิจารณาเป็น…สองเด้ง
ในขณะที่…คราบกรุ…ก็จะต้องเป็นอย่าง..นี้..ต้องมี…เพราะว่า..ต้อง…..
ผมก็บอกได้เลย..นั่นคือ…ยิ่งสร้างปัญหาเป็น…สามเด้ง
ในขั้นตอนของการผลิต….ถึงแม้ว่า…..แม่พิมพ์…จะได้มาตรฐาน…
แต่..หากเนื้อหามวลสาร (ดินผงหรือฯลฯ) ไม่ได้..มาตรฐาน..
เราไม่สามารถควบคุม…กระบวนการในการผลิตให้ได้มาตรฐานได้…
ไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่ง..ของกระบวนใจการพิมพ์.ไม่ได้มาตรฐานควบคุมไม่ได้
..เช่น..แรงที่เราดัน (กด เทหยอดฯลฯ)..เนื้อดินกด..เข้าสู่แม่พิมพ์..
ไม่เสมอกันทุกครั้ง…. หรือ…ดันด้วยแรงดันเสมอกันทุกครั้ง…แต่เนื้อดินก่อนที่
จะนำมาพิมพ์….ถูกแดด ถูกลม ถูกความร้อนในระยะเวลาที่ต่างกัน…ย่อมส่งผลให้..
ความนิ่ม ความแข็ง..ไม่เท่ากันอีก..ส่งผลให้….รูปทรงที่ปรากฏ..ก็ย่อมแตกต่างกัน
(อันเนื่องมาจาก…แรงดันเท่าเดิมก็จริง..แต่ความเเข็งของดินต่างกัน)
ในเมื่อ..กระบวนการการผลิต..ไม่ได้มาตรฐาน…
(ทั้งๆที่ เซียนก็ไม่เคยเห็น..แม่พิมพ์ ว่าเป็นอย่างไร?…
ทำให้พวกเขา….ไม่เข้าใจขั้นตอนของกระบวนการในการผลิต)
แล้ว…ดันไป….ยึดพิมพ์ทรง…ยึดรูปทรง..ให้เป็น มาตรฐาน…
ระบุเน้นย้ำว่า…….จะต้องมี..จะต้องเป็น….จะต้อง…….ผมว่า
…..ไม่ใช่วิถีแห่งการอนุรักษ์..ครับ….เป็นวิธีแห่ง..
การทำลายล้างพระฯ..ที่ผิดพิมพ์……อันเนื่องจาก..กระบวนการ
ในการพิมพ์รูปพระที่ไม่ได้มาตรฐาน..ครับ และ…รวมถึงเป็นการ..
จ้องทำลายอย่างเจตนาเสียด้วยซ้ำครับ..
ดินที่..มีความต่างชั้นวรรณะ…ก็เกิดจากการทับถมของดิน..
การย่อยสลายของสิ่งที่ทับถมกันนั้น…จนกลายเป็นดินเหนียว…
เมื่อชั้นดินมีความแตกต่าง..แม้จะเผาในเตาเดียวกัน..วางพระอยู่ใกล้ๆ กัน
ในไฟที่มีอุณหภูมิที่เท่ากันก็ตาม…ย่อมแสดงผล…ของสีวรรณะที่แตกต่าง
เป็น..หลายสี..ได้ในองค์เดียวกัน…หรือองค์ที่อยู่ใกล้กัน…(ตัวแปรดิน)
มีผู้รู้ได้อธิบาย..ให้ผมฟังว่า….ที่เขายึดพิมพ์เป็นมาตรฐานนั้น…
เนื่องจากว่า..เหมือนกับ…ลายนิ้วมือ…กดกี่ครั้ง..มันก็ต้องเป็นพิมพ์เดิม
..ครับ..ไม่จริงเสมอไปครับ..ถ้าหากเราเอา..ลายนิ้วมือ..เราไปกด..บนวัสดุ..ที่
ไม่ได้มาตรฐาน..หรือ มีความอ่อนนุ่มได้…เช่น..ดินเหนียว…ความเฉไฉ
..เเฉลบไหลลื่น.ทำให้..ลายนิ้วมือของเราเสีย..รูปทรงไป…จนเพี้ยนไป…
ผมถามว่า…รอยนิ้วมือที่..มีรูปทรง..ที่มีรูปทรงที่ผิดปกตินั้น..
เป็น ลายนิ้วมือเราหรือไม่…(….ผู้อ่านเลือกที่ตอบเองครับ…)
ทีนี้..ถ้ายอมรับว่าใช่..แล้ว พระที่ผิดพิมพ์..เพราะ..มีสิ่งหนึ่งสิ่งใด
ในกระบวนการผลิตที่…ไม่ได้มาตรฐาน..ไม่ว่าจะเป็น..การถอดพระรอด
…ออกจากแม่พิมพ์..ในขณะที่เนื้อเหลวอยู่……จนอาจจะทำให้..พระรอด..
หรือพระเครื่องใดๆมีรูปทรงที่แปลกไป…..
ทำไม…จึง…ยอมรับไม่ได้…หล่ะครับ…….แปลกไหมครับ…..????
ลองย้อนมาดู…คำตอบเรื่อง..ทำไมพระรอด..ถึงมีเนื้อที่แข็งแกร่ง…ได้…
มีผู้รู้อ้างว่า..เพราะว่า..มีการกรองเนื้อดินก่อน…อีกทั้งพระรอด..เป็น
พระเครื่องที่สร้างจากดินเหนียว…
(ผู้เขียน: ขอถามว่า..”มีการกรองเนื้อ..ทำอย่างไร?..ให้ละเอียด..??) เนื้อดินเหนียว…เป็น..
เนื้อที่ละเอียดอยู่แล้ว…ครับ…กรองอย่างไร..ให้ละเอียด…
คำตอบที่ผมได้รับคือ….(ไม่รู้..ไม่เห็น..เกิดไม่ทัน..)…
อ้าว?..ท่านตอบแบบนี้..แล้วท่านรู้อย่างไร? ว่า…ต้องกรองเนื้อให้ละเอียดก่อน?
คำตอบก็คือ..เพราะว่า..เขาเรียนรู้ (ผิดๆ) มา..แบบนั้น..เขาเข้าใจ (ผิดๆ)
มาแบบนั้น..นั่นเอง….ซึ่ง…อาจจะถูกหรือไม่ถูกก็ได้…(รู้ทันก็โกรธ)
อีกทั้งเราก็ไม่สามารถรู้ได้ครับ…เราเคยเห็นการทำดินที่ด่านเกวียน..ดินเขาก็
..ละเอียด..ผลงานที่ผลิต ผลงานที่ปรากฏ..ก็แข็งแรง…ไม่ต้องรอเป็น..
พันปี..ความแกร่ง..จนเป็นหิน..ถึงจะปรากฏเลย
ความแข็งแกร่ง..ของเนื้อที่ปรากฎ…อาจจะอยู่ในขั้นตอนของ..
การผลิตที่เป็นความลับ…ก็ได้…ครับ..ผม
หากเพื่อนๆ พิจารณารุปถ่ายพระเครื่องฯ สักสามภาพที่เซียนตัดสินว่าแท้แล้วนำมา
ศึกษาดู..เพื่อนๆ จะพบว่า
….ทั้งเนื้อและพิมพ์..ต่างก็ไม่มีความเหมือนกันเลย…ผมจึง…ถามว่า…
องค์ไหนแท้…ดูเนื้อหรือพิมพ์..
หากเพื่อนๆ อยากจะ..ให้องค์หนึ่งองค์ใดในสามองค์ที่เรียงกันอยู่นั้น…เป็นพระแท้…
เพื่อนๆ ก็ลองอธิบายให้แท้…ซิครับ…รับรองอธิบายได้อย่างถูกต้องแน่นอน…
ในขณะที่..องค์ถัดไป..ไม่ต้องอธิบาย..ก็ได้..เพราะผิดพิมพ์..ผิดเนื้อ…
ไม่เหมือนองค์ที่ผมอธิบายไป..เมื่อกี้……อย่างแน่นอน……
คำพูดผม…ถูกต้องหรือไม่…….ทีนี้…องค์ไหนแท้…ผมก็ต้อง
บอกองค์ที่ผมเป็นเจ้าของ..ซิแท้….ส่วนพระองค์อื่นของคนอื่น..ผิดพิมพ์…
พระเครื่องของผม.. ผมรับประกันตลอดชีพครับ..เนื่องจากผมเป็นเจ้าของ..
ส่วนสององค์ที่เป็นของคนอื่น…ปลอมสนิทครับ ไม่เชื่อลองส่งประกวดซิ…..5555
(เห็นทางข้างหน้าไหม..ใครรออยู่….ผมและพวกผมรออยู่…..ไม่ว่าพระของใคร..
ในเมื่อ….ผมเป็นคนตัดสิน…ผมก็สามารถตีให้ผิดพิมพ์…ตีผิดเนื้อ….รวมทั้ง
ตีปลอมได้สนิทใจอยู่แล้วครับ..ไม่เชื่อผมท้าลองส่งพระท่านเข้าประกวดซิครับ…
ผมตีปลอมทุกองค์ที่เป็นของท่าน…ได้จริงๆ…หรือจะให้ตีแท้ก็ได้นะ…5555)
“….สิ่งนี้คือ..ที่มาของคำว่า…
ให้คน..กำหนดมาตรฐาน…ตัดสินใน..มาตรฐานที่เขากำหนด….”
ไม่ได้ให้ พระกำหนดเอง…ว่า..ท่านมีมาตรฐานตรงไหน..ดูอย่างไร…????
แท้เท็จไม่ได้อยู่ที่…องค์พระเลยครับ?… อยู่ที่คนกำหนดให้เป็นอย่างไรก็ได้
ความวุ่นวาย..ก็จึงบังเกิดจนถึงทุกวันนี้หน่ะครับ….ไม่ลองตรวจสอบความรู้
ในเรื่อง”มาตรฐาน”…พวกเขาดูบ้างหรือว่า..กำลังใช้อะไร?..เป็นมาตรฐาน
เนื้อหามวลสาร (แต่ละองค์ที่ตัดสินว่าแท้..มีความเหมือนกันเป๊ะๆ ไหม?
พิมพ์ทรงองค์พระฯ พิมพ์เดียวกัน…มีหน้าตาเหมือนกันดั่งแฝดไหม?…
ถ้าคำตอบที่เราได้ว่า…ไม่เหมือนกันทั้งพิมพ์ทรงและเนื้อหามวลสาร
นั่นแหละคือสิ่งที่ผมบอกว่า…มันไม่มีมาตรฐาน..และการที่เราจะ ติเตียน
ตัดสินพระของใคร ว่า..”ปลอมเพราะว่าผิดพิมพ์หรือผิดเนื้อ” ก็ให้เราใช้วิจารณญานว่า
พิมพ์ทรงองค์พระฯ หรือ มวลสารแต่ละองค์…มีมาตรฐานในตัวเองหรือไม่
..และถ้าเราพบว่า..พิมพ์ทรงกับเนื้อหามวลสารต่างก็ไม่มีมาตรฐาน…
ดังนั้น…เราจึงไม่สมควร ยึดเอาสิ่งที่ไม่มีมาตรฐานแบบนั้น เป็นสิ่งยึดติด
ในการตัดสิน….ผิด-ถูก ได้นั่นเองครับ..
ขอปัญญาจงสถิตย์กับเพื่อนๆ ครับ