พระสมเด็จ..องค์นี้มีปัญหา…หมายความว่าอย่างไร????
พระสมเด็จวัดระฆังฯ องค์นี้…เป็นพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่
(เคยลงปกหนังสือ..ชั้นนำของเมืองไทย..ในอดีต….มาแล้ว)
สมัยก่อน (2546) มีการจัดประกวดพระเครื่องฯ ที่สวนอัมพร
งานใหญ่มาก..จัดประกวดกันถึง 3 วัน 3 คืน เข้มข้นด้วยคณะกรรมการ
การตัดสิน ผู้รู้ ผู้ชำนาญการ ผู้ทรงคุณวุฒิมากมายในงานนั้น
ผลปรากฏว่า…พระสมเด็จวัดระฆังฯ องค์นี้
มี เซียนใหญ่…ตีให้…แท้ 6 ท่าน (ถ้าผมจำไม่ผิด)
ในขณะที่..เซียนใหญ่..อีกกลุ่มหนึ่ง…ก็ตีให้…ปลอม..3 ท่าน
และก็มี เซียนใหญ่…1 ท่าน งดออกเสียง
แต่สุดท้าย…พระองค์นี้..ก็เป็น..พระแท้ (ท่ามกลางความกังขา)
หลังจากนั้น…ก็มีการเช่าบูชา เปลี่ยนมือไป…ในราคา 28 ล้านบาท
เป็นที่กล่าวขานกัน..ในคราวนั้น…..
ข้อคิดที่เราได้ในเรื่องนี้ คือ หากเราแยกประเด็น..ออกเป็นสองลักษณะ
คือฝ่ายไหน..ตัดสิน..ได้อย่างถูกต้อง…ยุติธรรม…(คนที่ไม่ออกความเห็น
นั่นก็คือ..คนที่..ไม่รู้..จริงไม่กล้าตัดสินใจ…การตัดสินจะต้องเด็ดขาด
แบ่งรับแบ่งสู้ในลักษณะนี้..ไม่สมควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง..กรณีนี้เราจะไม่พูดถึง)
พระ แท้…หรือ…ไม่แท้ (ใช้มาตรฐานอะไร??….)..
เป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่..
เราไม่ควรมองข้าม..หรือ..ละเลย..ให้ผ่านไป..เฉยๆ
หลังจาก…งานประกวดงานนั้น..ทั้งสองฝ่าย…ก็มาทะเลาะกัน..ว่า
ฝ่ายไหนถูก …………. ฝ่ายไหนผิด
คนที่พวกมาก…(สมมุติว่าเราเองก็อยู่ในกลุ่มพวกมากนี้)
ก็จะอ้างว่า..พวกส่วนน้อย..รู้ไม่จริง…มั่ว..ตัดสินผิดแผกแตกต่างจาก
คนส่วนใหญ่ (เราเอง..หากเราอยู่ในกลุ่มนี้..เราก็เชื่อว่า..กลุ่มของเรา
ถูกต้องตามนั้น ตามที่อาจารย์ผู้สอนของเรากล่าว…ไว้จริง)
ในขณะที่คนที่มี พวกน้อย..(และ..สมมุติว่าเราเอง…ก็อยู่ในกลุ่มพวกน้อยนี้)
ก็จะอ้างว่า..กลุ่มที่มีพวกมาก..มันลากไป..กลุ่มเราได้ตัดสินอย่างยุติธรรมแล้ว
แต่พวกนั้นมันเล่นพรรคเล่นพวก…มีพวกมาก ตัดสินให้พระสมเด็จฯ องค์นั้น เป็น
พระแท้จนได้ (เราเอง..อยู่ในกลุ่มนี้…เราก็เชื่อว่า..กลุ่มของเราถูกต้องตามนั้น..
ตามอาจารย์ผู้สอนของเรากล่าว….ไว้จริง)
ต่างฝ่าย..ต่างก็อ้างว่า…ฝ่ายตัวเองได้ตัดสิน..ด้วยความยุติธรรมแล้ว
เรา..ท่าน..หรือ ตัวผู้อ่าน…จะรู้ได้อย่างไร??? ว่าฝ่ายไหนตัดสินได้อย่างถูกต้อง
ในขณะที่….เรา..ท่าน..ผู้อ่าน…ไม่รู้อะไร..เลย…ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า…ฝ่ายไหน…
เขาใช้มาตรฐานอะไร (เนื้อพิมพ์ความเก่าฯลฯ)ในการตัดสิน ณ วินาทีนั้นนั้น
(มาตรฐานสา…กลุ่ม…หรือ?) นั่นคือสิ่งที่เราต้อง..ทำการตรวจสอบ
ปัญหาที่ตามมาคือ…เราจะใช้…มาตรฐาน…อะไรในการตรวจสอบ…คำตอบนั้น
เราจะใช้..มาตรฐานเหล่านี้ (พิมพ์ทรง..เนื้อหามวลสาร..ประสบการณ์?”
นำมา…ตรวจสอบ…เพื่อค้นหาคำตอบ.พระแท้หรือ..เท็จ…..ได้หรือไม่???
หากตรวจสอบเนื้อหามวลสารที่ไม่มีความเหมือนกัน ในพระสมเด็จแต่ละองค์.
หน่ะหรือ?????. คำตอบก็คือ…..ไม่มีทาง…ไม่มีทางตรวจสอบได้
(ถ้าเป็นทองคำ..ก็ใช้มาตรฐานเนื้อในการตรวจสอบได้ครับ..96.5 เท่ากัน โอเค)
พิมพ์ทรงองค์พระฯ..ที่ไม่มีความเหมือนกัน..ในพระสมเด็จแต่ละองค์.
คำตอบก็คือ….?????.ไม่มีทาง…และไม่มีทางตรวจสอบได้
(ถ้าเป็น..ขวดเบียร์..ยี่ห้อใดๆ..มีสี..ขนาด..ความสูงยาว..ปริมาตรบรรจุเท่ากัน..โอเค)
ความเก่า…ขององค์พระ..ที่มี..มาตรฐานความเก่า..ตามที่พวกเขาเห็น..
คำตอบก็คือ……..ยิ่งไม่มีทางที่จะได้คำตอบนั้นได้
(สิ่งที่เกิดจากความรู้สึก..ประสบการณ์ของแต่ละคน..ไม่สามารถวัดค่าความเท่ากันได้)
หากรวม…มาตรฐานที่เขากำหนดขึ้นเป็นมาตรฐานหลายๆ อย่าง รวมถึง สิ่งต่างๆ
ที่เขากำหนดขึ้นเพื่อให้เป็นมาตรฐาน…ยกตัวอย่างเช่น
(๑) มวลสาร (๒) พิมพ์ทรง (๓) ความเก่า….. (๔) รอยตัดตอก…(๕) รัก….ฯลฯ
ทั้งหมดที่กำหนดขึ้นมาให้เราเรียนรู้ กำหนดในการพิจารณาให้เป็นมาตรฐาน
สิ่งที่กำหนดเอาไว้เป็นมาตรฐาน…ล้วนแล้วมี ความเหมือนกันไหม?…หรือ …
ทั้งหมดล้วนไม่มีความ..เท่ากันไม่มีความ…เหมือนกัน…หากเป็นเช่นนี้
การจะอ้างว่า..
สิ่งนั้นคือ..มาตรฐาน สิ่งนั้นคือ…มาตรฐาน..สากล…ใดๆ …ก็ย่อมไม่ถูกต้องครับ
(เพราะไม่สามารถวัดค่าด้วยหน่วยวัดค่ามาตรฐานสากลใดๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันได้
..นอกจาก..ใช้ความเชื่อ…….ความเชื่อที่แต่ละคนเชื่อว่า..น่าจะใช่…หรือไม่ใช่ทั้งหมด
คือความรู้สึกส่วนตัวล้วนๆ)
ที่สำคัญ…เราก็เชื่อ (ว่าใช่หรือไม่ใช่) ไปตามนั้น….ไปตามคำที่เขากล่าวออกมา..นั้น
โดยไม่รู้ว่า…มันใช่ยังงัย…..มันไม่ใช่ยังงัย….ตรวจสอบไม่ได้อีก…5555(ความเชื่อไม่มี
หน่วยวัดครับ.(สิบมิลลิเมตรเท่ากับหนึ่งเซนติเมตร..อันนี้โอเค..วัดเทียบค่าได้
แต่สิบความเชื่อ เท่ากับหนึ่ง ความใช่…
สิบความเชื่อว่าใช่…เท่ากับความแท้ได้…
ผู้ที่มีปัญญาคงไม่ทำกันเยี่ยงนี้ครับ)
.ยิ่งแต่ละคนต่างก็มีความเชื่อไม่เหมือนกันอีก..ใครถูกผิด.??? จึงย่อมไม่รับคำตอบ….
จากความเชื่อของผู้นำกลุ่ม ผู้นำของแต่ละคนแต่ละฝ่ายได้
ทุกครั้ง..ที่เรานำพระไปถามผู้รู้..ตามห้าง..ตามตู้..ถามกับเพื่อนๆหรือ
ถามผู้ที่ (อ้างตัว) ว่าเป็นผู้รู้ เป็นผู้ชำนาญการ..คำตอบที่เขาให้….ว่าพระของเรา…
(แท้หรือเท็จ) เราก็เชื่อไปตามนั้น …เชื่อไปตามคำที่ผู้คนเหล่านั้น…เชื่อไปตามที่เขาตัดสิน
…เชื่อตามที่เขาบอก
ซึ่งบางทีพระเราปลอม แต่เป็นพระท้องตลาด…เขาก็ตอบแท้..(เอาอีกสักองค์เพิ่มไหม?ครับ)
หรือ พระเราแท้ เขาก็บอกว่าปลอม ยังไม่ได้ ผิดเนื้อผิดพิมพ์ แต่ขอเช่าในราคาถูกๆ)
เราก็เชื่อเขา..ทั้งๆ ที่เรา………..ไม่ได้ตรวจสอบความรู้ของพวกเขาด้วยซ้ำไป..ว่า…..เขามีความรู้ดี
มีความรู้จริงในเรื่องมาตรฐาน…ตามนั้นหรือไม่
โดยเฉพาะความรู้…ในเรื่องของมาตรฐานพระที่เขาพิจารณาตัดสินตรงหน้านั้น
มาตรฐาน-มาตรฐานสากล…ของพวกเขา
ที่กำหนดขึ้นมา..(เนื้อ-พิมพ์ทรง-ความเก่า-รอยตัดตอก-ฯลฯ) เหล่านั้น
มันมีมาตรฐานจริงๆ ตามที่เขากำหนดขึ้นเอาไว้….หรือไม่?….
ไม่ว่าคำตอบที่ได้จะ…ออกมาอย่างไร?….แท้หรือเท็จ…..ก็ตาม เราไม่เคยตรวจสอบมาตรฐาน
ที่เขาอ้างนั้น….ได้เลย
ที่สำคัญ …….เราไม่เคยเชื่อตัวเราได้เลยสักครั้งเดียว….และ การที่เราเชื่อใจเชื่อ
ในความรู้ของเราเองไม่ได้นี่แหละ…
พระพุทธองค์เรียกว่า..อวิชชา..เราก็เลย กลายเป็นเหยื่อ…อย่างทุกวันนี้
ที่ไม่มีคำตอบให้พระตัวเอง หรือ ค้นหาคำตอบแท้เท็จของพระฯให้ตัวเองไม่ได้
ต้องพึ่งเซียน พึ่งคนอื่นอยู่ร่ำไป ให้ตัดสินให้ดูให้
พระเครื่องที่เรียกว่าพระสมเด็จฯ องค์ที่ผมกำลังพูดถึงนี้
..มีคำตัดสินว่า.. แท้ หรือเท็จองค์นั้น
คำตอบ..ก็จะมีทั้งสองกรณีเช่นกัน…คือ…แท้กับไม่แท้
ถ้าผู้อ่าน..ถามผมว่า…ฝ่ายไหน..ตัดสินได้ถูกต้อง
…ฝ่ายไหน…ตัดสินผิดพลาด
คำตอบของผม..ผมก็ต้องย้อนไปถาม..พวกเขา..ว่าพวกเขา…
ใช้มาตรฐานอะไร? ในการพิจารณาตัดสิน ก่อน
ถ้า…พวกเขา…ตอบว่า..มาตรฐานที่เขาใช้ในการพิจารณา..จะต้อง…..
…….ดูทั้งเนื้อหามวลสาร…พิมพ์ทรงองค์พระฯ…ความเก่าได้อายุขององค์พระ
………รอยตัดตอก…ธรรมชาติความยุบย่น..แล้วก็ใช้ประสบการณ์ที่เคยซื้อขาย
พระมานาน..ฯลฯ
ผมก็จะตอบว่า…
ทุกคนล้วน…ผิดหมด..(เพราะ…………(เนื้อหามวลสาร…พิมพ์ทรงองค์พระ..ความเก่า
..ประสบการณ์….ฯลฯ)สิ่งที่เขากำหนดขึ้นเป็นมาตรฐานมันไม่มีมาตรฐาน)
คือ…มันผิดตั้งแต่..กำหนดสิ่งเหล่านั้น..ให้เป็น..มาตรฐานแล้ว…
.
เพราะ..สิ่งที่เขาตั้งขึ้น กำหนดขึ้นให้เป็น…มาตรฐานนั้น…
มันไม่ได้มาตรฐาน..ไม่มีความเหมือนกัน..ไม่มีความเท่ากัน..และสุดท้าย….มัน
ไม่มีมาตรฐานอะไรรองรับได้เลย….นั่นเอง (นอกจากความเชื่อ..และจงเชื่อ..ฉัน
เชื่อกลุ่มฉน…เชื่อฝ่ายฉัน….)
หรือ…หากผมจะตอบว่าสิ่งที่เขาตัดสิน..ทุกคนล้วน..ถูกทั้งหมด..ก็ได้ (เขาจะอธิบาย
ให้ถูกต้อง..ยังงัยก็ได้กับ..รูปร่าง รูปทรง…เนื้อหามวลสาร..รวมถึงสิ่งที่เขาเห็น
แต่ะถ้าจะให้ผมบอกว่าคำตอบที่ได้ที่ไม่เหมือนกันมันผิดตรงไหน? อย่างไร?…
ความผิดของพวกเขาเหล่าผองเพื่อน จะผิดก็ตรงที่ ความรู้ของพวกเขาผิด…
…ผิดตรงที่ไปกำหนดสิ่งไม่มีมาตรฐาน ให้เป็น มาตรฐาน
ความรู้ในเรื่องมาตรฐาน…ของพี่น้องผองเพื่อนเขา…ไม่ถูกต้องทั้งหมด….
ทั้งสองกลุ่ม..นั่นเอง (อวิชชา)
ผิดตรงที่….. ไม่มีความรู้..ในเรื่องมาตรฐานพระเครื่องนั้นๆ …อย่างดีพอ…..
ผิดตรงแค่…ไม่รู้ว่า..สิ่งที่เขากำหนดให้เป็น…มาตรฐาน..นั้น…มันไม่มีมาตรฐาน
…มันไม่ใช่มาตรฐาน…มันไม่มีค่าคงที่สำหรับวัดค่าเพื่อการเรียนรู้..
ผิดตรงที่….มาตรฐานที่เขากำหนดขึ้นมา มันเรียนรู้ไม่ได้..สอนกันไม่ได้..วัดค่าไม่ได้
เลยไม่รู้ว่าจะดูยังงัยถึงถูกต้อง….ต่างหากหน่ะครับ
(ความไม่เหมือนกันทั้งเนื้อและพิมพ์ทรง/ความเก่า) เจอพระองค์นึง..ก็อธิบายองค์นึง
คำอธิบายก็จะใช้ได้…เป็นเฉพาะองค์ๆ ไป….
การเรียนรู้เฉพาะองค์แบบนี้แหละ…..เรียนจนตายก็หาคำตอบในเรื่อง “มาตรฐาน” ไม่เจอ
คำตอบของผมก็เป็นแบบนี้…แหละครับ
เราจึงได้..คำตอบ..เป็นสองอย่าง…(แท้บ้างเท็จบ้าง)
อย่างนี้งัยครับ…. ผมพูดถูกต้องไหมครับว่า……สิ่งที่พวกท่านกำหนดให้เป็นมาตรฐานนั้น
มัน…ไม่มีมาตรฐานหน่ะครับ เรื่องมันก็เลยวุ่นวาย..เพราะว่า…ไม่มีความรู้เรื่องมาตรฐานที่ถูกต้อง….
ไม่รู้ว่า…อะไรคือมาตรฐาน..แล้ว…วัดค่ากันได้อย่างไร?…นั่นเองครับ จริงไหมครับ?
ท่านผู้รู้….ผู้ชำนาญการ..ทั้งหลาย
เมื่อ…ไม่รู้ว่าอะไรคืออะไร?…ย่อมไม่รู้จะปฏิบัติต่อสิ่งน้ันให้ถูกต้องได้อย่างไร?
ชอปัญญาจงสถิตย์กับเพื่อนๆ ครับ