การเรียนรู้ในเรื่องใด ศาสตร์ใดๆ ก็ตามสิ่งที่เราจะค้นคว้าหาคำตอบได้นั้น จะประกอบไปด้วย
การเรียนรู้จากตำรา และ จากการปฏิบัติ
๑. การเรียนรู้จากตำรา เราก็จะได้ข้อมูลจากผู้เขียนตำรานั้นๆ ซึ่ง เราก็ต้องแยกให้ได้ว่า…ตำรานั้นเขียนด้วย ความจริงหรือความเชื่อ รวมถึง ผู้เขียนกำลังให้ความรู้เรื่องอะไร? …..เช่น พื้นฐานการพิจารณาพระ ดูเนื้อ ดูพิมพ์ ดูความเก่า บนความจริงที่สิ่งนั้นเป็น บนพื้นฐานที่สิ่งนั้นเป็น หรือ ให้ความรู้บนความรู้จริงบนมาตรฐานที่แท้จริง เราต้องแยกให้ออกให้ได้
๒. การเรียนรู้จากการปฏิบัติ เป็นการเรียนรู้โดยอาศัยประสบการณ์จากการทดลอง มองเห็น โดยมีองค์ประกอบต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย
ประเด็นสำคัญอยู่ที่…ประสบการณ์ที่เราเชื่อว่าถูกต้องนั้น…เป็นความรู้ภาคปฏิบัติที่ถูกต้องด้วยหรือไม่?…..เช่น…ดูพระโรงงานเป็นพระแท้? แล้วก็วนเวียนเช่าเก็บสะสมพระปลอมโรงงานเหล่านั้น มีประสบการณ์จากพระปลอมโรงงานเหล่านั้นแล้วนำมาถ่ายทอดสอนต่อ บอกเล่าเคล้านิยายอธิบายไปบนความรู้ที่เกิดจากความเชื่อของตนเองที่ผิดๆ นั้น…..ก็ได้เช่นกัน
ผมถึงบอกว่าการเรียนรู้นั้น…จะประกอบด้วยตำรา กับ ภาคปฏิบัติ…
ดังนั้น..ผู้เรียนรู้จึงต้องรู้จักคิด วิเคราะห์ แยกแยะทั้งเรื่องของตำรา (ข้อเท็จจริง) …กับ…ประสบการณ์ของผู้ให้ความรู้ (บนความเชื่อหรือความจริง) ให้ออกด้วยตัวเองให้ได้
มิเช่นนั้นแล้ว….อาจจะเป็นการหลงทาง ลงคู ทั้งครูและศิษย์…..ออกทะเลไกลกู่….ทั้งครูและศิษย์…….หาทางออกของปัญหาไม่เจอช่องประตู….ทั้งครูและศิษย์….ไม่ว่าจะเป็นตำราและประสบการณ์….ถือล้มเหลวในการศึกษาทั้งคู่….ทั้งครูและศิษย์….
รวมถึงก็จะถ่ายทอดต่อเนื่องไปบน “ความไม่รู้”…..ทั้งครูและศิษย์ สอนผิดๆ ให้กับคนรุ่นหลังต่อไป….อีกนานเท่านาน….นั่นเอง…..”อวิชชา” ความไม่รู้ หรือรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างไม่ถูกต้องไม่ถ่องแท้ แท้จริง ชัดเจน…ล้วนเป็นอันตรายต่อ…“ความรู้จริง”…ยิ่งนัก
ขอปัญญาจงสถิตย์กับเพื่อนๆ ครับ