โดยสมชายน้อยสาครเมื่อ 25 มกราคม 2011 เวลา 10:14 น.
จากมวลสารที่ได้เกริ่นไว้ในตอนแรกแล้วว่าประกอบด้วยมวลสารหลักใหญ่ๆ
(ตามเซียนบอกไว้)คือ…ผงปูนเปลือกหอย…..น้ำ..น้ำมันตังอิ้ว..น้ำมันจันทน์ ผงธูป ดินกำแพง
รวมถึงมวลสารอื่นๆ ฯลฯ ดังที่ผมเคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้แล้ว(หรือลองค้นหนังสือ…ที่บรรดา
เซียน ผู้รู้ ผู้ชำนาญการ หรือ ผู้อ้างว่ารู้ทั้งหลาย แต่ละสำนัก เคยพูดถึง..ดูครับ)
ก่อนอื่น…
ในบริเวณ..ด้านหลังองค์พระฯ.เราจะพบกับคำว่า..กด..ด้วยไม้กระดานทั้งสี่
(เขาอธิบายว่า..มีการกดทับบริเวณด้านหลังด้วยไม้กระดานที่มีลักษณะต่างกัน
โดยแยกแยะไม้กระดานได้…สี่ลักษณะที่มีลวดลายไม่เหมือนกันเหมือนกัน)
คำว่า…กด..ด้านหลัง..เพื่อทำให้…เนื้อพระสมเด็จฯแน่นจึงทิ้งรอยไม้..ไว้
……ลักษณะเนื้อ…ของพระสมเด็จฯก็จะต้อง…ปั้น..เป็นก้อนได้……เท่านั้น
คือมีลักษณะ…เช่นเดียวกับ..แป้ง..ปาท่องโก๋…หรือ…ดินน้ำมัน
มีคำอธิบายต่อมาว่า….
ในบริเวณ…ด้านหลังองค์พระฯ…บางองค์…เราอาจจะไม่พบ..รอยไม้กระดานกด
แต่เราจะพบ…รอยปาด…หรือ…เรียกว่า…รอยกาบหมาก…มีลักษณะเป็นลอนคลื่น
ก็มี….ผมติดใจตรงคำว่า
…รอยปาด…หรือ..รอยกาบหมาก…นี่แหละครับ
คำว่า…ปาด…พจนานุกรม = (ก. เชือด, เถือ, ผ่าน)
มวลสารที่เราสามารถ..ปาด..เนื้อ….ออกไปได้..คือมวลสาร…ต้องไม่เป็นก้อน
ในกรณีที่เป็นก้อนจะใช้คำว่า….ตัด..หั่น..ฝาน
ลักษณะของการปาด…คือ…ถ้าเนื้อมวลสาร…ไม่เหลวเป็นน้ำ…เช่น..ปาดเนื้อปูน..
ที่เกินออกไปหรือ..ไม่ก็…..เป็นของแห้ง…เป็นมวลเล็กๆเช่น..ตวงข้าวสารแล้ว
ปาดให้พอดีขอบถ้วยตวง เป็นต้น
มีคำอธิบายต่อมาอีกว่า…
ด้านหลังพระสมเด็จฯบางองค์…ก็ไม่พบรอยอะไรเลย..ทั้งไม้กระดาน…หรือ..
รอยกาบหมาก เราเรียกว่า….หลังเรียบ….
การอธิบาย..ด้วยข้อสัณนิษฐานของผู้รู้ ผู้ชำนาญการ..สองกรณีแรก..เป็นการ..
อธิบายแบบ ..เหยียบเรือสองแคม..ครับ….
หมายถึงว่า…สัณนิษฐาน..อย่างไร?ก็ต้องถูกสักทาง
หนึ่ง ทางใดสักทาง อย่างแน่นอน
(นั่นก็เป็นเพราะว่า…พวกเขาเหล่านั้น….ไม่เห็นแม่พิมพ์….ไม่รู้จักแม่พิมพ์ นั่นเอง)
การอธิบายจึงสะเปะ สะปะ…ไปหมดเช่นนี้
ส่วนกรณีที่สาม…มีสิทธิ์เกิดได้จากทั้ง สองกรณี..นั่นเอง
คือ..จะอธิบายยังงัยก็ได้ แต่..พระของฉันแท้..
เนื้อหามวลสาร….ก็เป็นได้ทุกกรณีแหละ ไม่ว่าจะปั้นกด หรือ เทหยอด
(เคยมีคนบอกกับผมว่า…”ผมไม่สนใจหรอกว่าเนื้อหามวลสารก่อนพิมพ์จะเป็นอะไร?
จะปั้นกดหรือเทหยอด เพียงแต่ผมรู้ว่า..พระของผมแท้ ขายได้?…ผมรับรองได้)
ผมก็มึนงง กับความรู้ (ไม่พอ)…แต่ก็อ้างว่า…พระผมแท้ ผมรับประกัน?
5555555 เอาความรู้ที่ไม่พอของตัวเองรับประกัน..พระ..เนี่ยนะ…งงเลย
สรุปว่า…สมเด็จพุฒาจารย์…ท่านทำเนื้อหามวลสารสองอย่าง…หรือ???
คือ..ปั้นเป็นก้อน (แห้ง)และ/หรือ
เทหยอด…เหลวเป็นน้ำ (เหมือนบะหมี่ซองเลย..2in1)
นั่นคือความรู้ของกลุ่มคนที่…..คิด..หา..ความจริง……สุดท้าย…ไม่พบความจริงอะไร???
จะแตกต่างจากคนที่…ค้น..หา..ความจริง…สักวัน..เขาก็..ค้นพบความจริง???? จนได้
มีข้อคิด..ให้เพื่อนๆ คิดอีกเช่นเคย(เพื่อนๆ คงลำบากใจอีกแล้ว)
มาตรฐานในการตัดสินพระสมเด็จฯ ก็มีการดูร่องรอย.การตัดตอก บริเวณด้านข้างทั้งสี่…
นี้ ยกอ้างข้ึนมาเป็นหลักในการกำหนดความแท้เท็จ…ตัดสินใจ..(มาตรฐาน) ด้วย
บรรดาผู้รุ้ ผู้ชำนาญการ ยึดเป็นหลักมาตรฐานเอามาใช้ในการตัดสินใจ..พิจารณา…
ความแท้..ความเท็จ..ให้พระสมเด็จฯ ด้วย…หน่ะครับ
บางคนดูแค่ด้านข้าง…ก็พลั้งปากว่า..
“รอยตัดตอก ก็ไม่ได้แล้ว ไม่ดีแล้ว”….555 แล้วก็ส่งพระคืนอย่างเร็วไว…ๆ…
โดยไม่ต้องส่องกล้องเลยครับ…(สุดยอดความเก่งครับ)
มีข้อคิดให้เพื่อนได้คิดเพิ่มเติมครับ…ว่า
เนื้อหามวลสาร…ถ้าจะ…ตัดด้วยตอก…หรือ..ตัดด้วยวัสดุ…ใดๆ ได้….เนื้อหา
มวลสารนั้นจะต้องอ่อนนุ่ม….(สถานเดียวเท่านั้น)
เมื่อโดนตอก…ผ่า..แยก..ตัด…ออกมาให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก
…ความบิดเบี้ยว…ผิดพิมพ์…เพี้ยนพิมพ์…ย่อมจะเกิดได้หรือไม่?
ความเพี้ยนพิมพ์ ย่อมจะเกิดขึ้นในทันที (ถ้าเนื้อหามวลสาร..ไม่เป็นเหมือนยางลบ
..หรือเหมือน..ขนมชั้น) ไม่เชื่อ เพื่่อนๆ ก็ลองเอาดินน้ำมันมา..แล้ว..เอามีด..ตัดผ่านเนื้อ..
ดูครับ…ความผิดเพี้ยนทางรูปทรง…ก็จะเกิดขึ้นทันที
(ปัญหาที่เซียนจะต้องคิดหนักต่อไปอีกก็คือ รูปทรงพระฯ.จะคว่ำตัด หรือ หงายตัด)
จะหาวิธีตัดได้ยังงัยก็ยังยากแล้ว..(คำถามนี้เซียนก็ตอบไม่ได้..”ชัดเจน ชัดถ้อยชัดคำแล้ว”)
. …ทีนี้…เพื่อนๆ ลองคิดแทน สมเด็จพุฒาจารย์โต..พรหมรังสี…กันดูกันครับ..ว่า…
ท่านจะตัดพระสมเด็จฯ ของท่าน..อย่างไร??..โดย..ไม่ให้..ผิดพิมพ์…เพี้ยนพิมพ์..
(โดยที่เราเองก็ยังไม่รู้คำตอบว่า…เนื้อหามวลสารก่อนพิมพ์เป็นอย่างไร?.โดยที่
เราก็ไม่รู้ว่า…”แม่พิมพ์”…มีลักษณะอย่างไร?) เหล่าเซียน คงลำบากใจ เพราะไม่ใช่นิยายที่
จะเล่าให้ฟังเพื่อผ่านไปเฉยๆ เหมือนเช่นอดีตเเล้ว?…ถ้าโดนถามตรงๆ เอาความจริงแบบนี้
ลองถาม…ผู้รู้..ผู้ชำนาญการ หรือพวกที่ตั้งตัวเป็น อาจารย์ใหญ่ ทั้งหลายดูครับ…
ถ้าผู้อ่าน..ค้นหาคำตอบไม่ได้….ไม่ต้องเเปลกใจ..เพราะเรา ไม่ใช่ผู้รู้ผู้ชำนาญการ…
ถามผม ผมก็ไม่ใช่เซียนเป็นเพียงแค่ผู้ศึกษาพระเครื่องคนหนึ่ง (แต่ผมมีคำตอบรอครับ)
ในกรณีที่…เซียน ผู้รู้ ผู้ชำนาญการตอบไม่ได้..นั่นก็หมายความว่า…ความรู้ที่เขามี..
ก็ยังไม่พอ…ไม่พอที่จะให้คำตอบใดๆ เกี่ยวกับเนื้อหามวลสารก่อนพิมพ์..หรือ..ลักษณะ
ของแม่พิมพ์ที่ถูกต้องได้) เพราะว่า..แม่พิมพ์จะมีความสัมพันธ์..กับเนื้อหามวลสารที่จะต้อง
เตรียมสำหรับการพิมพ์…เท่านั้น…..นั่นเอง
มวลสารที่เหมาะสำหรับเทหยอดก็เตรียมลักษณะมวลสาร และ มีลักษณะแม่พิมพ์ที่..
ไม่เหมือนกับเนื้อมวลสารพระสมเด็จฯ ที่เหมาะสำหรับ..ปั้นกด…นั่นเอง
การเหยียบเรือสองแคมในการอธิบายเรื่องมวลสาร ทั้งสองกรณี คือ
..มวลสารที่พวกเขาอธิบายจะเป็น..ปั้นกด ก็ได้ หรือ จะเป็น..มวลสารสำหรับเทหยอดก็ได้
จึง…เป็นความรู้ ห้าสิบ/ห้าสิบ…นั่นเอง..ส่งผลให้ข้อสัณนิษฐาน ในขั้นตอนการพิมพ์..นั้น..
ไม่ชัดเจน ห้าสิบห้าสิบไปด้วย…การอธิบายจึงสับสนปนเป..กันไปหมด (เน้นย้ำความรู้ไม่พอ)
แม้แต่ รอยตัดตอกด้านข้างทั้งสี่…ของพระสมเด็จฯ..ต่างคนต่างก็ก็อธิบายโดยไม่รู้ว่า…
มันตัดยังงัย..? (หน้าไปหลัง-หลังไปหน้า)……ตัดได้ หรือตัดไม่ได้? แต่กลับระบุให้รอยนี้…
เป็นมาตรฐาน ใช้เป็นหลักในการพิจารณา…”จากข้อสัณนิษฐานที่ตัวเองต่างก็ไม่รู้-เห็น”
เราจะรักษารูปทรงอันสวยงาม (ของหลวงวิจารณ์เจียรนัย…..ที่ไม่มีตัวตน หรือหลวงฯลฯ)
ในช่วงเวลาที่ทำการ…..ตัดตอก…ไม่ให้พิมพ์ทรงผิดเพี้ยน..ควรทำอย่างไร? ช่วยๆ กันถาม
ท่่านเหล่าเซียนๆ ทั้งหลายดูครับ (ผมไม่เกี่ยว…ผมไม่ใช่เซียน) ยึ่งจะต้องเห็น
รอยแผ่วเบาอย่างแมวข่วน…ให้เหล่าเซียนได้พิจารณาชี้ชะตาพระฯ….ด้วย..
(ผู้ผลิต ผู้ตัดแยก…จะต้องบรรจงตัดและพิถีพิถัน….มากๆ เลย) …555
โอ้โห…กำหนดมาตรฐานให้พระเป็น..กันเข้าไปเยอะๆ…เออ..เเล้วจะตอบอย่างไร
ให้กระจ่าง? ดีเพราะว่า…ท่านไปกำหนดกันเอาไว้เองแบบนั้น..(รับรองตอบไม่ได้ครับ)
การเป็น ผู้รู้…ผู้ชำนาญการ..ต้องตอบได้ .ถ้า…ตอบไม่ได้ หรือ ไม่ยอมตอบ นิ่งเฉย
แล้วสิ่งที่พวกท่านได้กำหนดกันขึ้นมาให้เป็น มาตรฐาน มาตรฐานสากล ทั้งหมดเพื่อใช้ในการ
พิจารณาตัดสินพระของคนอื่น..โดยอ้างว่า..เป็นมาตรฐาน…มาตรฐานสากล..มีมาตรฐาน
จริงๆ ตามนั้นหรือไม่?..ต้องนำพิสูจน์ให้เห็นกันได้ครับ..”วัดค่ามาตรฐานตรงไหน?…วัดค่า
จากอะไร? จากส่วนไหน? ตรงไหน?…”
“เหล่าบรรดาเซียนทั้งหลาย…จะอธิบายกันยังงัยครับ” เมื่อเจอคำถามแบบนี้..ครับ
ทำให้เราอดสงสัยไม่ได้ว่า..ในคำที่ท่านกล่าวเสมอๆ ว่า
คำตัดสินวางอยู่บนความบริสุทธิ์ยุติธรรม…มีความถูกต้องสมบูรณ์ดีแล้ว..
คำกล่าวนี้เป็นจริงตามอ้างแล้วหรือไม่???
ก็ในเมื่อ..ข้อมูลของความรู้จริง..ความถูกต้อง..พร่องไปเยอะแบบนี้ จะตัดสินให้บริสุทธิ์
ยุติธรรม ไม่เกิดปัญหา จากการเรียนรู้ของระบบที่ผิดพลาด….คงเป็นเรื่อง “ฝันไปเถอะ”
แมงเม่า ก็เข้าปิ้ง….อยู่ดี (ถ้าความรู้ของผู้ตัดสินไม่พอเเบบนี้)
ในเมื่อวันนี้..ความรู้แค่ เนื้อหามวลสาร..ก่อนพิมพ์เป็นอย่างไร?..ท่านก็ตอบไม่ได้แล้ว?
คำอธิบายเรื่องเนื้อหามวลสาร…….ปั้นกดก็ได้…เทหยอดก็ได้..
คำตอบ…ตอบแบบห้าสิบห้าสิบ..แบบนี้…..แล้วจะตัดสินพระเครื่องของคนอื่น
ได้อย่าง เต็มร้อย..ได้อย่างไร?..จากความรู้ไม่เต็มร้อย ครับท่านผู้รู้ ผู้ชำนาญการทั้งหลาย
ผมเชื่อแน่ว่า…คำถามนี้..ไม่มีใครตอบ…พวกเขาจะ…นิ่งเฉย…ไม่สนใจไม่ตอบโต้
(เพราะรักษาภาพ..ยิ่งตอบ..เราก็ยิ่งรู้ว่า..พวกเขาเหล่าเซียน..มีความรู้จริง…แค่ไหน?…หรือ…
เขาอาจจะไม่มีความรู้อะไรเลย..หรือ..มีความรู้จริง แต่เป็นความรู้ที่ผิด..ตามที่ผมได้เกริีนไว้ )
การนิ่งเฉย..อาจจะหมายความได้ว่า ถ้าเขา…ยิ่งตอบ..อาจจะ…ยิ่งเข้าเนื้อ…
ทุกคนก็จะยิ่งตรวจสอบองค์ความรู้นั้นได้
แต่การเป็นผู้รู้ ผู้ชำนาญการ ต้องตอบได้..ถ้าตอบไม่ได้..ก็ขาดคุณสมบัติของการเป็น
ผู้รู้ ผู้ชำนาญการน้ัน…หมดความสง่างาม..เพราะองค์ความรู้ในตัวเองไม่สมบูรณ์หน่ะครับ
ดังนั้น ทางออกของ ผู้รู้ ผู้ชำนาญการทั้งหลาย จึงต้องยึด…สุภาษิตนี้ครับ
“ใช้ความนิ่งสงบ สยบความเคลื่อนไหว”
เพราะ…ตรู…ก็ตอบไม่ได้….ไม่รู้จะตอบอย่างไร? ไม่ไหวเคลียร์…เหมือนกัน..???
ถูกต้อง…ไหม๊…คร๊าบ….บ…บ ท่านผู้รู้ ผู้ชำนาญการทั้งหลาย…..
ขอปัญญาจงสถิตย์กับเพื่อนๆ ครับ